เครือข่ายสังคมยอดฮิต "เฟซบุ๊ก (Facebook)" เปิดตัวแหล่งรวมแอปพลิเคชันสำหรับชาวเฟซบุ๊กในชื่อ
"แอปเซ็นเตอร์ (App Center)" อย่างเป็นทางการ
ปูทางให้ใช้งานแล้วบนอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการไอโอเอส (iOS) อย่างไอโฟน
ไอแพด และไอพ็อด รวมถึงอุปกรณ์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ (Android) หลากแบรนด์ เช่นเดียวกับผู้เล่นเฟซบุ๊กผ่านเว็บไซต์ Facebook.com ไม่หวังเป็นร้านโหลดแอปแต่ขอเป็นตัวช่วยให้ชาวเฟซบุ๊กใช้แอปพลิเคชันกับเพื่อนได้สนุกกว่าเดิม
เฟซบุ๊กระบุว่าจำนวนแอปพลิเคชันในแอปเซ็นเตอร์ขณะนี้คือ
600 แอปพลิเคชัน ได้แก่แอปพลิเคชันที่ฮอตฮิตติดลมบนอย่าง
Pinterest, Draw Something, Nike+, Path และ Ghost
Recon ทั้งหมดนี้เฟซบุ๊กยืนยันว่าแอปเซ็นเตอร์จะไม่ใช่ร้านจำหน่ายแอปพลิเคชันเพื่อแข่งขันกับ
Google Play หรือ iTunes App Store ของแอปเปิล
แต่ต้องการเป็นฮับหรือแหล่งที่ชาวเฟซบุ๊กจะสามารถเข้ามาค้นหาแอปพลิเคชันใหม่ที่น่าสนใจ
ซึ่งอิงกับกิจกรรมบนเฟซบุ๊กของคุณเองและของผองเพื่อน โดยไม่ว่าระบบจะแนะนำแอปพลิเคชันใด
ผู้ใช้ก็จะถูกส่งไปยังหน้า Google Play และ iTunes อยู่ดี เพื่อดาวน์โหลดแอปนั้นอย่างง่ายดาย
สำหรับผู้ใช้งานผ่านเว็บไซต์ ชาวเฟซบุ๊กสามารถใช้งานแอปเซ็นเตอร์จากแถบ bookmark ซึ่งจะแสดงไว้ด้านมุมซ้ายบนของหน้า news
feed ทุกคนสามารถเลือกดูแอปพลิเคชันตามกลุ่มเช่นเกม บันเทิง เพลง
และข่าว เพื่อไล่รายชื่อแอปพลิเคชันที่เพื่อนใช้งานอยู่ หรือแอปพลิเคชันแนะนำน่าสนใจที่เพิ่งเปิดตัว
ข้อมูลระบุว่า
แอปเซ็นเตอร์จะแนะนำแอปโดยอิงจากแอปพลิเคชันที่คุณใช้งานอยู่ โดยเฉพาะแอปพลิเคชันที่ชาวเฟซบุ๊กตั้งค่าลงชื่อใช้งานด้วยชื่อและรหัสผ่านเฟซบุ๊ก
(Facebook login) รสนิยมการใช้งานแอปพลิเคชันเหล่านี้จะถูกประมวลผลกลายเป็นรายการแอปพลิเคชันแนะนำ
ซึ่งผู้ใช้เฟซบุ๊กผ่านเว็บจะสามารถทดลองใช้แอปพลิเคชันนั้นได้ทันที ส่วนผู้ใช้อุปกรณ์พกพาก็จะถูกส่งลิงก์ไปยัง
iTunes หรือ Google Play เพื่อดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่อไป
ความเคลื่อนไหวนี้ของเฟซบุ๊กตอกย้ำเทรนด์การเลือกแอปพลิเคชันแนว "Social Picks" หรือการเลือกตามกระแสความนิยมในขณะนั้น ซึ่งชาวเฟซบุ๊กจะสามารถตรวจรายชื่อแอปพลิเคชันยอดนิยมที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดในแต่ละหมวดได้อย่างง่ายดาย จุดนี้ชัดเจนว่าเฟซบุ๊กสามารถนำจุดแข็งเรื่องความแน่นเฟ้นในเครือข่ายสังคม มาเสริมความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ระหว่างการเปิดตัวแอปเซ็นเตอร์ เฟซบุ๊กให้ข้อมูลว่าชาวออนไลน์มากกว่า 230 ล้านคนนั้นเล่นเกมบนเฟซบุ๊กทุกเดือน โดยมากกว่า 130 เกมที่เปิดให้เล่นบนเฟซบุ๊กนั้นมีจำนวนผู้ใช้สม่ำเสมอหรือ active user มากกว่า 1 ล้านคนต่อเดือน แถมในเวลา 8 เดือนนับตั้งแต่เฟซบุ๊กจัดงาน f8 (กันยายน 2011) มีแอปพลิเคชันมากกว่า 4,500 แอปพลิเคชันแล้วที่เปิดตัวสำหรับทำงานบนไทม์ไลน์ (timeline)
เฟซบุ๊กอ้างว่าเป็นช่องทางนำชาวออนไลน์เข้าสู่ร้าน Apple App Store ถึง 83 ล้านครั้งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีส่วนผลักดันให้ชาวออนไลน์ใช้งานแอปพลิเคชันไอโอเอสมากกว่า 134 ล้านครั้งในเดือนเดียวกัน
ความเคลื่อนไหวนี้ของเฟซบุ๊กตอกย้ำเทรนด์การเลือกแอปพลิเคชันแนว "Social Picks" หรือการเลือกตามกระแสความนิยมในขณะนั้น ซึ่งชาวเฟซบุ๊กจะสามารถตรวจรายชื่อแอปพลิเคชันยอดนิยมที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดในแต่ละหมวดได้อย่างง่ายดาย จุดนี้ชัดเจนว่าเฟซบุ๊กสามารถนำจุดแข็งเรื่องความแน่นเฟ้นในเครือข่ายสังคม มาเสริมความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ให้กับผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม
ระหว่างการเปิดตัวแอปเซ็นเตอร์ เฟซบุ๊กให้ข้อมูลว่าชาวออนไลน์มากกว่า 230 ล้านคนนั้นเล่นเกมบนเฟซบุ๊กทุกเดือน โดยมากกว่า 130 เกมที่เปิดให้เล่นบนเฟซบุ๊กนั้นมีจำนวนผู้ใช้สม่ำเสมอหรือ active user มากกว่า 1 ล้านคนต่อเดือน แถมในเวลา 8 เดือนนับตั้งแต่เฟซบุ๊กจัดงาน f8 (กันยายน 2011) มีแอปพลิเคชันมากกว่า 4,500 แอปพลิเคชันแล้วที่เปิดตัวสำหรับทำงานบนไทม์ไลน์ (timeline)
เฟซบุ๊กอ้างว่าเป็นช่องทางนำชาวออนไลน์เข้าสู่ร้าน Apple App Store ถึง 83 ล้านครั้งในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีส่วนผลักดันให้ชาวออนไลน์ใช้งานแอปพลิเคชันไอโอเอสมากกว่า 134 ล้านครั้งในเดือนเดียวกัน
สำหรับผู้ใช้งานผ่านเว็บไซต์
ชาวเฟซบุ๊กสามารถใช้งานแอปเซ็นเตอร์จากแถบ bookmark ซึ่งจะแสดงไว้ด้านมุมซ้ายบนของหน้า news
feed ทุกคนสามารถเลือกดูแอปพลิเคชันตามกลุ่มเช่นเกม บันเทิง เพลง
และข่าว เพื่อไล่รายชื่อแอปพลิเคชันที่เพื่อนใช้งานอยู่ หรือแอปพลิเคชันแนะนำน่าสนใจที่เพิ่งเปิดตัว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น